หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเกณฑ์ทหาร

การเกณฑ์ทหาร



กฏหมายที่เกี่ยวข้อง - พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พุทธศักราช 2497

http://app-thca.krisdika.go.th/Naturesig/CheckSig?whichLaw=law2&folderName=%c317&lawPath=%c317-20-9999-update


ผู้ชายที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฏหมาย มีหน้าที่รับราชการทหารด้วยกันทุกคน(มาตรา 7)   โดยชายที่มีสัญชาติไทย จะเริ่มผูกพันกับกฏหมายรับราชการทหารตั้งแต่อายุ 17 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อมีอายุย่างเข้า 18 ปี 

- การได้สัญชาติไทย
  1. ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือ นอกราชอาณาจักรไทย
  2. ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาและมารดาเป็น       คนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือ บิดาซึ่งมิได้มี       การสมรสกับมารดาหรือมารดาของผู้นั้นเป็น
- ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็น กรณีพิเศษเฉพาะราย
- ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ
- ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ว่าด้วยคนเข้าเมือง

     3.  ผู้ที่ได้แปลงสัญชาติเป็นคนไทยตามกฎหมาย
     4. บุคคลที่ได้กลับคืนสัญชาติไทย

- กรณีบุตรที่เกิดนอกประเทศไทย
  1. ถ้าบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย และมารดาสัญชาติไทย จะจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่ก็ตาม บุตรย่อมได้สัญชาติไทย
  2. ถ้าบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย และมารดาเป็นคนสัญชาติอื่น บิดาต้องจดทะเบียนสมรสกับมารดา บุตรจึงจะได้สัญชาติไทยตามบิดา ซึ่งการจดทะเบียนสมรสนั้นจะจดตามกฎหมายของต่างประเทศหรือจดทะเบียนสมรสที่สถานเอกอัครราชทูตไทยก็ได้
  3. ถ้ามารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย และบิดาเป็นคนสัญชาติอื่น บิดาจะจดทะเบียนสมรสกับมารดาหรือไม่ก็ตาม บุตรย่อมได้สัญชาติไทยตามมารดา
-ขั้นตอนหน้าที่ของชายไทย  
  • การขึ้นทะเบียนทหาร  หรือ การลงบัญชีทหารกองเกิน ชายไทยเมื่ออายุย่างเข้า 17 ปีบริบูรณ์ 
  • หรือย่างเข้า18  ต้องไปแสดงตนเพื่อขึ้นทะเบียนทหารภายในปี พ.ศ. นั้น  คือ บังคับให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินการลงบัญชี 
               การขึ้นทะเบียนทหารก็คือการลงบัญชีทะเบียนไว้เพื่อให้เป็นหลักฐานสำหรับการเรียกตัวเข้าเป็นทหาร เข้ารับการตรวจเลือก
               หลักฐานในการขึ้นทะเบียนทหาร ประกอบด้วย บัตรประจำตัวและสูติบัตร (ใบเกิด) พร้อมด้วยทะเบียนบ้าน เมื่อเจ้าหน้าที่สัสดีตรวจสอบแล้วว่าหลักฐานตรงกันและปรากฏว่าเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย ก็จะออกใบสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
     สถานที่ที่ต้องไปแสดงตนในการขึ้นทะเบียนทหาร  คือ
  • ในกรณีที่บิดาและมารดา สมรสกันตามกฎหมาย ให้ถือภูมิลำเนาของบิดาเป็นหลักในการขึ้นทะเบียนทหาร โดยไปขึ้นทะเบียนทหาร ณ อำเภอท้องที่ที่บิดามีชื่อปรากฏในทะเบียนบ้าน 
  • หากบิดาเสียชีวิต หรือไม่มีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย ก็ให้ไปขึ้นทะเบียนทหาร ณ อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา 
  • หากบิดา และมารดา เสียชีวิต ก็ให้ไปขึ้นทะเบียนทหาร ณ อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา 
  • หากไม่มี บิดา มารดา หรอผู้ปกครอง ก็ต้องไปขึ้นทะเบียนทหารที่อำเภอที่เจ้าตัวมีชื่อในทะเบียนบ้าน 
  • บุตรบุญธรรม ถือเอาภูมิลำเนาของผู้รับบัตรบุญธรรมเป็นหลัก 
  • บุคคลที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนทหารได้ตามข้อ 1- 6 เนื่องจากว่าไม่ปรากฏภูมิลำเนา ก็ให้ไปขึ้นทะเบียนทหาร ณ ที่อำเภอที่พบตัวบุคคลนั้น 
          เมื่อได้ขึ้นทะเบียนทหารแล้วให้ถือว่าผู้นั้นมีภูมิลำเนาทหารอยู่ในท้องที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนทหารไว้ ซึ่งภูมิลำเนาทหารนั้นมีได้เพียงที่เดียว แต่ก็สามารถที่จะย้ายภูมิลำเนาทหารได้ โดยให้แจ้งต่อ           นายอำเภอท้องที่ที่ตนเข้ามาอยู่ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่ โดยใช้ใบสำคัญ (แบบ ส.ด.9)หรือ หนังสือสำคัญ (แบบ ส.ด.8) และทะเบียนบ้านประกอบเป็นหลักฐานในการแจ้งย้าย   เมื่อนายอำเภอตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้ที่ขอย้ายภูมิลำเนาทหารได้ย้ายที่ตั้งมาทำมาหากินหาเลี้ยงชีพ เป็นประจำ หรือมีที่อยู่เป็นหลักฐานและไม่ประสงค์จะหลีกเลี่ยงการรับราชการทหารก็จะดำเนินการย้ายภูมิลำเนาทหารให้ 
              กำหนดเวลาในการไปการขึ้นทะเบียนทหาร คือตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคมของ  ปีทีมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ หรือย่างเข้า 18 ปี            
                  การนับอายุ ถ้าเกิดปี พ.ศ. ใด ให้ถือว่ามีอายุครบ 1 ปีบริบูรณ์เมื่อสิ้นปี พ.ศ. ที่เกิดนั้น ส่วนการนับอายุต่อไปให้นับเฉพาะปีที่สิ้นพุทธศักราชแล้ว เช่น นาย ก เกิดในปี พ.ศ. 2539 ไม่ว่านาย ก จะเกิดวันที่เท่าใด ในเดือนไหนก็ตาม เมื่อสิ้นปี พ.ศ.2539 นาย ก จะมีอายุครบ 1 ปีบริบูรณ์ และจะมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2555 เมื่อเข้า 1 ม.ค.2556 นาย ก. ก็จะมีอายุย่างเข้าปีที่ 18 นาย ก. ก็มีหน้าที่ที่จะต้องไปขึ้นทะเบียนทหาร โดยนาย ก. จะสามารถไปขึ้นทะเบียนทหารได้ตั้งแต่ 1 ม.ค.2555 ถึง 31 ธ.ค.2556 หากเลยกำหนดดังกล่าวก็จะมีความผิดตามกฎหมาย
               การไปขึ้นทะเบียนทหารนั้นกฎหมายกำหนดให้เจ้าตัวเป็นผู้ดำเนินการเอง ยกเว้นในกรณีที่ ผู้นั้นไม่สามารถจะไปขึ้นทะเบียนทหารได้ด้วยตนเองได้ เช่น เกิดการเจ็บป่วย หรืออยู่ต่างประเทศ ก็สามารถที่จะให้    ผู้ที่บรรลุนิติภาวะ ( คือ มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ นับชนวัน เดือน ปีเกิด)  และเชื่อถือได้ไปแจ้งแทน หากเลยกำหนดเดือนธันวาคมไปแล้วไม่ไปขอขึ้นทะเบียนทหาร ถือว่าผู้นั้นหลีกเลี่ยงขัดขืนมีความผิด  และเมื่อเกินกำหนดแล้วบุคคลนั้นได้มาขึ้นทะเบียนทหารด้วยตนเอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่หากว่าเจ้าหน้าที่ ได้ดำเนินการในเรื่องที่ไม่มาขึ้นทะเบียนทหารตามกำหนดระยะเวลาแล้ว  ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 300 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
                สำหรับบุคคลที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนทหารเมื่อย่าง 18 ปี หากอายุยังไม่ถึง 46 ปีบริบูรณ์ ต้องมาขอขึ้นทะเบียนทหารด้วยตนเอง ไม่สามารถที่จะให้ผู้อื่นแจ้งแทนได้เพราะมีความผิดเกิดขึ้นแล้ว  แต่ถ้ามีอายุครบกำหนดปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 2 ตามมาตรา 39 เมื่อได้ขึ้นทะเบียนทหารแล้วให้ปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 2 ทันที ถ้าบุคคลใดอายุ 46 ปีบริบูรณ์แล้ว ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 16 หรือมาตรา 18 ก็เป็นอันผ่านพ้นไป 
               ผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนทหารกับเจ้าหน้าที่แล้วถือว่าเป็นทหารกองเกินตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมของปีถัดไป 

การรับหมายเรียก(หมายเกณฑ์)

           ทหารกองเกิน(บุคลที่ขึ้นทะเบียนทหารแล้ว) เมื่อมีอายุย่างเข้า 21 ปี(อายุ 20 ปีบริบูรณ์) ใน พ.ศ.ใด ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอที่เป็นภูมิลำเนาทหารของตน (อำเภอที่ได้ไปขึ้นทะเบียนทหารไว้) เช่นเกิด พ.ศ.2537 ให้ไปแสดงตนรับหมายเรียกได้ตั้งแต่ 1 ม.ค.2557 ถึง 31 ธ.ค.2557 ในเวลาราชการ 
           หากไม่มารับหมายเรียกตามกำหนดถือว่าผู้นั้นหลีกเลี่ยงขัดขืนมีความผิดตาม พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 44 มีความผิดต้องระวางด?ษปรับไม่เกิน 300 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นพิจารณาความผิด บุคคลนั้นได้มาขอรับหมายเรียกเสียก่อน อาจจะเป็นเจ้าตัวเองหรือให้บุคคลื่นไปรับแทนตน ระวางโทษก็จะลดลงมาเหลือปรับไม่เกิน 100 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
           โดยในเดือนตุลาคมของทุกปีนายอำเภอก็จะออกประกาศปิดไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการกำนัน ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน และที่เปิดเผยในชุมชนท้องถิ่นนั้น ๆ เพื่อให้ทหารกองเกินที่มีอายุย่างเข้า 21 ปี ในปี พ.ศ. นั้น ไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอ โดยจะออกหมายเรียก ดังนี้
  • ผู้ที่มีอายุย่างเข้า 21 ปี ในปีที่จะเข้ากองประจำการ
  • สำหรับผู้ที่อายุย่างเข้า 21 ปี ในปีที่จะต้องเข้ากองประจำการ แต่ยังมิได้ขึ้นทะเบียนทหาร ถ้ามาขึ้นทะเบียนทหาร ให้สัสดีทำหมายเรียกมอบให้รับไปในวันที่บุคคลนั้นมาขึ้นทะเบียนทหาร
  • บุคคลที่มีอายุ 22 - 29 ปีบริบูรณ์ ที่ไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือก(เกณฑ์ทหาร) หรือเป็นบุคคลที่หลีกเลี่ยงไม่มาับหมายเรียกเมื่อปีก่อน (ศาลตัดสินลโทษแล้ว) หรือพ้นจากฐานะการยกเว้นหรือผ่อนผัน บุคคลเหล่านี้ต้องไปรับหมายเรียกเพื่อแสดงตน หรือเพื่อจำหน่ายบัญชีเรียกทหารกองเกินตามแต่กรณี
  • การรับหมายเรียกแทน บุคคลใดไม่สามารถไปรับหมายเรียกด้วยตนเองได้ เช่น ป่วย ไปอยู่ต่างประเทศ ต้องให้บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วและเชื่อถือได้ไปรับหมายเรียกแทน  ส่วนการที่จะรับหมายเรียกแทนได้หรืไม่นั้นอยู่ในดุลยพินิจของนายอำเภอ 

การตรวจเลือกเข้ากองประจำการ

           การตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ากองประจำการ (การเกณฑ์ทหาร) นั้น กระทรวงกลาโหมได้กำหนดไว้ในเดือนเมษายน( 1 เม.ย. ถึง 11 เม.ย. ของทุกปี) ดังนั้นทหารกองเกินเมื่อได้รับหมายเลียกแล้วจะต้องไปเข้าับการตรวจเลือกตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนดไว้ในหมายเรียก  โดยนำหลักฐานต่าง ๆ ได้แก่ ใบสำคัญทหารกองเกิน(สด.9) หมายเรียก(สด.35)  บัตรประจำตัวประชาชน หลักฐานการศึกษา   ถ้าไม่มาตามกำหนดนัด หรือมาแต่ไม่เข้ารับการตรวจเลือก หรือไม่อยู่จนกว่ากาตรวจเลือกจะแล้วเสร็จ ให้ถือว่าบุคคลนั้นหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่มาให้คณะกรรมการทำการตรวจเลือก มีความผิดต้องระวางโทษ  จำคุกไม่เกิน 3 ปี ซึ่งมีโทษจำคุกอย่างเดียวไม่มีโทษปรับ อีกทั้งจะต้องถูกส่งเข้ารับรับราชการทหารกองประจำการในปีนั้นหรือปีถัดไปโดยไม่ให้จับสลาก  และในวันตรวจเลือกนั้นผู้ที่เข้ารับการตรวจเลือกทุกคนจะได้รับใบรังรองผลการวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ(แบบ สด.43) หรือที่รู้จักกันคือ ใบผ่านการเกณฑ์ทหาร

          ข้อยกเว้น  ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันไม่ต้องเข้ารับการตรวจเลือกตามหมายเรียก ได้แก่
  1. ข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยปัจจุบันทันด่วนให้ไปราชการอันสำคัญยิ่ง หรือไปราชการต่างประเทศโดยคำสั่งของเจ้ากระทรวง
  2. นักเรียนซึ่งออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  3. ข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ราชการ หรือโรงงานอื่นใด ในระหว่างที่มีการรบหรือการสงคราม อันเป็นอุปกรณ์ในการรบหรือการสงครามและอยู่ในความควบคุมของกระทรวงกลาโหม
  4. บุคคลซึ่งกำลังปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยทหารในราชการสนาม
  5. เกิดเหตุสุดวิสัย
  6. ไปเข้าตรวจเลือกที่อื่น
  7. ป่วยไม่สามารถจะมาได้ โดยให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้มาแจ้งต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก
      บุคคลที่จะเข้ารับการคัดเลือกเข้ากองประจำการนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีขนาดรอบตัวตั้งแต่ 76 เซนติเมตรขึ้นไปในเวลาที่หายใจออก และมีความสูงตั้งแต่ 146  เซนติเมตรขึ้นไป วิธีวัดขนาดนั้น ให้กระทำดังนี้ คือ ให้ยืนตั้งตัวตรงส้นเท้าชิดกัน ขนาดสูงให้วัดตั้งแต่ส้นเท้าจนสุดศีรษะ ขนาดรอบตัวให้คล้องแถบเมตรรอบตัวให้ริมล่างของแถบได้ระดับราวนมโดยรอบ วัดเมื่อหายใจออกเต็มที่หนึ่งครั้งและหายใจเข้าเต็มที่หนึ่งครั้ง

            วิธีคัดเลือกนั้นให้เลือกคนจำพวกที่ 1 ซึ่งมีขนาดสูงตั้งแต่หนึ่งเมตรหกสิบเซนติเมตรขึ้นไปก่อน ถ้ามีจำนวนมากกว่าจำนวนที่ต้องการก็ให้จับสลาก

             ถ้าคนจำพวกที่ 1 ซึ่งมีขนาดสูงตั้งแต่หนึ่งเมตรหกสิบเซนติเมตรขึ้นไปมีไม่พอกับจำนวนที่ต้องการ ให้เลือกขนาดสูงถัดรองลงมาตามลำดับจนพอกับความต้องการ ถ้าเลือกถึงขนาดใดเกินจำนวนต้องการ ให้จับสลากเฉพาะขนาดนั้น
             ถ้าคนจำพวกที่ 1 มีไม่พอกับจำนวนที่ต้องการ ให้เลือกจากคนจำพวกที่ 2 ถ้ายังไม่พออีก ก็ให้เลือกจากคนที่จะได้รับการผ่อนผันโดยวิธีเดียวกับที่กล่าวในวรรคหนึ่งและวรรคสอง
              คนจำพวกที่ 3 ให้เรียกมาตรวจเลือกในคราวถัดไป เมื่อคณะกรรมการตรวจเลือกได้ตรวจเลือกแล้วยังคงเป็นคนจำพวกที่ 3 อยู่ รวม 3 ครั้ง ให้งดเรียก
               การตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการกองประจำการนั้น ถ้ามีจำนวนมากกว่าจำนวนที่ต้องการก็ให้จับสลาก ผู้ใดจับได้สลากเป็นแผนกทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ หรือตำรวจ ให้ส่งเข้ากองประจำการแผนกนั้น สลากนั้นให้มีเท่าจำนวนทหารกองเกินที่จะต้องจับสลากแบ่งเป็นเครื่องหมายสีแดงอย่างหนึ่ง สีดำอย่างหนึ่ง สีแดงให้มีเท่าจำนวนที่ต้องการรับเข้ากองประจำการ นอกนั้นเป็นสีดำ ถ้าในแห่งเดียวกันนั้นจะต้องส่งทหารกองเกินเข้ากองประจำการหลายแผนก ให้เขียนนามแผนกนั้นๆ ในสลากเครื่องหมายสีแดง ตามจำนวนที่ต้องการ

ในการตรวจเลือกคณะกรรมการจะแบ่งทหากองเกินออกเป็นจำพวกดังนี้


         จำพวกที่ 1 ได้แก่ บุคคลที่มีร่างกายสมบูรณ์ดีไม่มีอวัยวะพิการหรืผิดส่วนแต่อย่างใด

        จำพวกที่ 2 ได้แก่ บุคคลที่ร่างกายเห็นได้ชัดว่าไม่สมบูรณ์ดีเหมือนพวกที่ 1 แต่ไม่ถึงทุพพลภาพ คือ
          
 (1) ตาหรือหนังตาผิดปกติจนปรากฏชัดอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้แม้เพียงข้างเดียว
                   (ก) ตาเหล่ (Squint)

                   (ข) ลูกตาสั่น (Nystagmus)

                   (ค) แก้วตาขุ่น (Cataract)

                   (ง) กระจกตาขุ่น (Opacity of Cornea)

                   (จ) หนังตาตก (Ptosis)

                   (ฉ) หนังตาม้วนเข้า (Entropion)

                   (ช) หนังตาม้วนออก (Ectropion)

                   (ซ) ช่องหนังตา (Palpebral Fissure) ทั้งสองข้างกว้างไม่เท่ากันจนดูน่าเกลียด

  • (2) หูผิดปกติอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้แม้เพียงข้างเดียว
                  (ก) ใบหูผิดรูปหรือผิดขนาดปรากฏชัดเจนจนดูน่าเกลียด เช่น ลีบ หรือเล็ก หรือใหญ่ หรือบี้

                  (ข) ช่องหูมีหนองเรื้อรังและทั้งแก้วหูทะลุ

  • (3) จมูกผิดรูปจนดูน่าเกลียดเช่นบี้ หรือแหว่ง
  • (4) ปากผิดรูปจนดูน่าเกลียด เช่น แหว่ง หรือผิดรูปจนพูดไม่ชัด
  • (5) ช่องปากผิดรูป หรือผิดปกติจนพูดไม่ชัด
  • (6) หน้าผิดปกติจนดูน่าเกลียดอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
                  (ก) อัมพาต (Facial Paralysis)

                  (ข) เนื้อกระตุก (Tics)

                  (ค) แผลเป็นหรือปานที่หน้า มีเนื้อที่ตั้งแต่ 1/4 ของหน้าขึ้นไปหรือยาวมาก

                  (ง) เนื้องอก (Benign Tumour)

  • (7) คอพอก (Simple Goitre)
  • (8) ซอกคอหรือซอกรักแร้ติดกัน
  • (9) อวัยวะเคลื่อนไหวผิดปกติอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้แม้เพียงข้างเดียว
                  (ก) ข้อติด (Ankylosis) หรือหลวมหลุดง่ายหรือเคลื่อนไหวไม่สะดวก จนทำงานไม่ถนัด

                  (ข) นิ้วมือหรือนิ้วเท้ามีจำนวนหรือขนาดของนิ้วผิดปกติจนดูน่าเกลียด หรือนิ้วบิดเกจนดูน่าเกลียดหรือจนทำงานไม่ถนัด หรือช่องนิ้วติดกัน หรือนิ้วมือด้วนถึงโคนเล็บ

                  (ค) มือหรือแขนลีบหรือบิดเก

                   (ง) เท้าหรือขาลีบหรือบิดเก

  • (10) กระดูกชิ้นใหญ่ผิดรูปจนทำให้อวัยวะนั้นทำงานไม่สะดวกหรือจนดูน่าเกลียด
  • (11) ไส้เลื่อนลงถุง
  • (12) ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด (Gender Identity Disorder)
           จำพวกที่ 3 ได้แก่คนซึ่งมีร่างกายยังไม่แข็งแรงพอที่จะรับราชการทหารในขณะนั้นได้ เพราะป่วยซึ่งจะบำบัดให้หายภายในกำหนด 304วันไม่ได้

           จำพวกที่ ๔ ได้แก่คนพิการทุพพลภาพ หรือมีโรคที่ไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ตามกฎกระทรวง


โรคหรือสภาพร่างกายหรือสภาพจิตใจ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๗๔ (พ.ศ. ๒๕๔๐)ซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ตามมาตรา ๔๑ คือ
 (1) โรคหรือความผิดปกติของตา
                 (ก) ตาข้างหนึ่งข้างใดบอด คือเมื่อรักษาและแก้สายตาด้วยแว่นแล้วการมองเห็นยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 3/60 หรือลานสานตาโดยเฉลี่ยแคบกว่า 10 องศา
                (ข) สายตาไม่ปกติ คือเมื่อรักษาและแก้สายตาด้วยแว่นแล้วการมองเห็นยังอยู่ในระดับ 6/24 หรือต่ำกว่าทั้งสองข้าง
               (ค) สายตาสั้นมากกว่า 8 ไดออปเตอร์ หรือสายตายาวมากกว่า ไดออปเตอร์ทั้งสองข้าง
               (ง) ต้อแก้วตาทั้งสองข้าง (Bilateral Cataract)
               (จ) ต้อหิน (Glaucoma)
               (ฉ) โรคขั้วประสาทตาเสื่อมทั้ง 2 ข้าง (Optic Atrophy)
               (ช) กระจกตามอักเสบเรื้อรังหรือขุ่นทั้งสองข้าง
               (ซ) ประสาทการเคลื่อนไหวลูกตาไม่ทำงาน สูญเสียอย่างถาวร (Cranial nerve 3rd, 4th, 6th)”
          (2) โรคหรือความผิดปกติของหู
               (ก) หูหนวกทั้งสองข้าง คือต้องใช้เสียงในช่วงคลื่นความถี่ 500-2,000 รอบต่อวินาทีหรือเกินกว่า 55 เดซิเบล จึงจะได้ยินทั้งสองข้าง
               (ข) หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรังทั้งสองข้าง
               (ค) เยื่อแก้วหูทะลุทั้งสองข้าง
          (3) โรคของหัวใจและหลอดเลือด
               (ก) หัวใจหรือหลอดเลือดพิการอย่างถาวร จนอาจเกิดอันตรายร้ายแรง
               (ข) ลิ้นหัวใจพิการ
               (ค) การเต้นของหัวใจผิดปกติอย่างถาวร จนอาจเกิดอันตรายร้ายแรง
               (ง) โรคของกล้ามเนื้อหัวใจชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และอาจเป็นอันตราย
               (จ) หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
               (ฉ) หลอดเลือดภายในกระโหลกศรีษะโป่งพองหรือผิดปกติชนิดที่อาจเป็นอันตราย
          (4) โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือด
               (ก) โรคเลือดหรืออวัยวะสร้างเลือดผิดปกติอย่างรุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
               (ข) ภาวะม้ามโต (Hypersplenism) ที่รักษาไม่หายและอาจเป็นอันตราย
          (5) โรคระบบหายใจ
               (ก) โรคหืด (Asthma) ที่ได้รับการวินิจฉัยตามเกณฑ์การวินิจฉัย
               (ข) โรคทางปอดที่มีอาการไอ หอบเหนื่อย และมีการสูญเสียการทำงานของระบบทางเดินหายใจ โดยตรวจสอบสมรรถภาพปอดได้ค่า Forced Expiratory Volume in One Second หรือ Forced Vital Capacity ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของค่ามาตรฐานตามเกณฑ์
               (ค) โรคความดันเลือดในปอดสูง (Pulmonary Hypertension) ซึ่งวินิจฉัยโดยการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) หรือโดยการใส่สายวัดความดันเลือดในปอด
                (ง) โรคถุงน้ำในปอด (Lung Cyst) ที่ตรวจวินิจฉัยได้โดยภาพถ่ายรังสีทรวงอกหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอด
                (จ) โรคหยุดการหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea) ซึ่งวินิจฉัยด้วยการตรวจการนอนหลับ (Polysomnography)
          (6) โรคของระบบปัสสาวะ
                (ก) ไตอักเสบเรื้อรัง
                (ข) กลุ่มอาการไตพิการ (Nephrotic Syndrome)
                (ค) ไตวายเรื้อรัง
                (ง) ไตพองเป็นถุงน้ำแต่กำเนิด (Polycystic Kidney)
          (7) โรคหรือความผิดปกติของกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ
               (ก) โรคข้อหรือความผิดปกติของข้อ ดังต่อไปนี้
                      1. ข้ออักเสบเรื้อรัง (Chronic Arthritis)
                      2. ข้อเสื่อมเรื้อรัง (Chronic Osteoarthritis)
                      3. โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง (Spondyloarthropathy)
               (ข) แขน ขา มือ เท้า นิ้ว อย่างใดอย่างหนึ่งผิดปกติ ดังต่อไปนี้
                     1. แขน ขา มือ หรือเท้า ด้วนหรือพิการ ถึงแม้ว่าจะรักษาด้วยวิธีใหม่ที่สุดแล้วก็ยังใช้การ   ไม่ได้
                     2. นิ้วหัวแม่มือด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
                     3. นิ้วชี้ของมือด้วนตั้งแต่ข้อปลายนิ้ว
                     4. นิ้วมือในมือข้างเดียวกันตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไปด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
                     5. นิ้วหัวแม่เท้าด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือการถึงขั้นใช้การไม่ได้
                     6. นิ้วเท้าในเท้าข้างเดียวกันตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไปด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้น      ใช้การไม่ได้
                    7. นิ้วเท้าในเท้าแต่ละข้างตั้งแต่หนึ่งนิ้วขึ้นไปด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
                    8. นิ้วเท้าในเท้าข้างใดข้างหนึ่งตั้งแต่หนึ่งนิ้วขึ้นไปด้วนจนถึงข้อโคนนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
             (ค) คอเอียงหรือแข็งทื่อชนิดถาวร
             (ง) กระดูกสันหลังโก่งหรือคดหรือแอ่นจนเห็นได้ชัด หรือแข็งที่อชนิดถาวร
             (จ) กล้ามเนื้อเหี่ยวลีบหรือหดสั้น (Atrophy or Contracture) จนเป็นผลให้อวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดใช้อากรไม่ได้
       (8) โรคของต่อมไร้ท่อและภาวะผิดปกติของเมตะบอลิสัน
             (ก) ภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยไปอย่างถาวร
             (ข) ภาวะต่อมพาราธัยรอยด์ทำงานน้อยไปอย่างถาวร
             (ค) ภาวะต่อมใต้สมองผิดปกติอย่างถาวร
             (ง) เบาหวาน
             (จ) ภาวะอ้วน (Obesity) ซึ่งมีดัชนีความหนาของร่างกาย (Body Mass Index) ตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป
            (ฉ) โรคหรือความผิดปกติเกี่ยวกับเมตะบอลิสัมของแร่ธาตุ สารอาหาร ดุลสารน้ำ อีเล็กโทรลัยท์และกรดด่าง ตลอดจนเมตะบอลิสัมอื่น ๆ ชนิดถาวร และอาจเป็นอันตราย
             (ช) ภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานมากผิดปกติ (Hyperthyroidism)
        (9) โรคติดเชื้อ
             (ก) โรคเรื้อน
             (ข) โรคเท้าช้าง
             (ค) โรคติดเชื้อเรื้อรังระยะแสดงอาการรุนแรง ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
      (10) โรคทางประสาทวิทยา
             (ก) จิตเจริญล่าช้า (Mental Retardation) ที่มีระดับเชาว์ปัญญา ๖๙ หรือต่ำกว่านั้น
             (ข) ใบ้(Mutism) หรือดูดไม่เป็นภาาาหรือฟังภาษาไม่รู้เรื่อง(Aphasia) ชนิดถาวร
             (ค) ลมชัก (Eoukeost) หรือโรคที่ทำให้มีอาการชัก(Seizures) อย่างถาวร
             (ง) อัมพาต (Paralysis) ของแขนขา มือ หรือเท้า ชนิดถาวร
             (จ) สมองเสื่อม(Dementia)
             (ฉ) โรคหรือความผิดปกติของสมองหรือไขสันหลังที่ทำให้เกิดความผิดปกติอย่างมากในการเคลื่อนไหวของแขนหรือขาอย่างถาวร
             (ช) กล้ามเนื้อหมดกำลังอย่างหนัก (Myasthenia Gravis)
      (11) โรคทางจิตเวช
             (ก) โรคจิตที่มีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง
                   1. โรคจิตเภท (Schizophrenia)
                   2. โรคจิตกลุ่มหลงผิด (Resistant Delusional Disorder, Induced Delusional Disorder)
                   3. โรคสคิซโซแอฟแฟ็คทีป (Schizoaffective Disorder)
                   4. โรคจิตที่เกิดจากโรคทางกาย (Other Mental Disorder due to Brain Damage and Dysfunction)
                   5. โรคจิตอื่น ๆ (Unspecified Nonorganic Psychosis)
             (ข) โรคอารมณ์แปรปรวนที่มีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง
                  1. โรคอารมณ์แปรปรวน (Manic Episode, Bipolar Affective Disorder)
                  2. โรคอารมณ์แปรปรวนที่เกิดจากโรคทางกาย (Other Mental Disorder due to Brain Damage andDysfunction and to Physical Disorder)
                 3. โรคอารมณ์แปรปรวนอื่น ๆ (Other Mood (Affective) Disorder, Unspecified Mood Disorder)
                 4. โรคซึมเศร้า (Depressive Disorder, Recurrent Depressive Disorder)
           (ค) โรคพัฒนาการทางจิตเวช
                1. จิตเจริญล่าช้าที่มีระดับเชาว์ปัญญา ๗๐ หรือต่ำกว่า (Mental Retardation)
                2. โรคหรือความผิดปกติในการพัฒนาการของทักษะทางสังคมและภาษา (Pervasive DevelopmentalDisorder)
      (12) โรคอื่น ๆ
             (ก) กระเทย (Hermaphrodism)
             (ข) มะเร็ง (Maligant)
             (ค) ตับอักเสบเรื้อรัง (Chronic Hepatitis)
             (ง) ตับแข็ง (Cirrhosis of Liver)
             (จ) คนเผือก (Albino)
             (ฉ) โรงลูปัสอิริธิมาโตซัสทั่วร่างกาย (Systemic Lupus Erythematosus)
             (ช) กายแข็งทั่วร่างกาย (Systemic Sclerosis)
             (ซ) รูปวิปริตต่าง ๆ ได้แก่
                   (1) จมูกโหว่
                   (2) เพดานโหว่หรือสูงหรือสิ้นไก่สั้นพูดไม่ชัด
             (ฌ) โรคผิวหนังลอกหลุดตัวผิดปกติแต่กำเนิดชนิดเด็กดักแด้ (Lamellar Ichthyosis & CongenitalIchthyosiform Erythroderma)

18 ความคิดเห็น:

  1. ตอนนี้ผมเรียน ร.ด.ปี2ครับอยากทราบว่าต้องไปขึ้ยทะเบียนทหารไหมครับ ผมไม่แน่ใจครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ถ้าเกิด 2541 ต้องไปขึ้นภายในปีนี้ครับ

      ลบ
    2. ถ้าเกิด 2541 ต้องไปขึ้นภายในปีนี้ครับ

      ลบ
  2. ตอนนี้ผมเรียน ร.ด.ปี2ครับอยากทราบว่าต้องไปขึ้ยทะเบียนทหารไหมครับ ผมไม่แน่ใจครับ

    ตอบลบ
  3. ที่ว่าต้องขึ้นทะเบียนตามภูมิลำเนาพ่อต้องไปที่อำเภอที่พ่อเกิดหรือไปที่อำเภอตามทะเบียนบ้านครับ(คือพ่อผมเกิดที่นครศรีธรรมราชแต่ย้ายมาอยู่กรุงเทพฯแล้ว)

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไปขึ้นทะเบียนทหาร ตามภูมิลำเนาของบิดา ชายไทยที่เรียน รด. ต้องใช้ในการนำปลด เมื่อจะจบ รด. ปี 3

      ลบ
  4. ถ้าผมอายุยังไม่ถึง21ปีต้องไปเกณฑ์ทหารไหมครับ
    แต่ในใบบอกให้ไปเกณฑ์ในปีนี้แต่อายุผมยังไม่ถึง21

    ตอบลบ
  5. เกิด 29 มีนา 39 รับหมายเรียกหลัง 29 มีนาใช่ไหมครับ(20ปีแล้ว) แล้วรับหมายแล้วจะต้องไปเกณเมื่อไหร่หรอครับ

    ตอบลบ
  6. เกิด 29 มีนา 39 รับหมายเรียกหลัง 29 มีนาใช่ไหมครับ(20ปีแล้ว) แล้วรับหมายแล้วจะต้องไปเกณเมื่อไหร่หรอครับ

    ตอบลบ
  7. แล้วคนที่จบ รด ปี3 ต้องทำยังไงบ้างคับ

    ตอบลบ
  8. ปีนี้ผมอายุ20แล้วไปสมัครเป็นทหารใด้ใหมคับ

    ตอบลบ
  9. สมมุติว่า ท้าไปเกณฑ์ทหารแล้วจับได้ใบดำในปีที่เกณฑ์
    ปีต่อไปต้องไปเกณฑ์อีกป่าวครับ

    ตอบลบ
  10. ถ้าเคยเกณฑ์แล้วไม่ได้ขนาดไม่ต้องเกณฑ์แยากสมัครทหารตอนนี้อายุ28ปีสมัครได้ไหมวุฒิป.6

    ตอบลบ
  11. ผมเกิด วันที่ 4 มีนา 2541 ต้องเกณฑ์ตอนอายุเท่าไหร่ครับ

    ตอบลบ
  12. ผมเกิด วันที่ 4 มีนา 2541 ต้องเกณฑ์ตอนอายุเท่าไหร่ครับ

    ตอบลบ
  13. คือเป็นสาวประเภทสองค่ะอยากสมัคหารมันจะได้รึเปล่าร่างกายเป็นชายแค่ผมยาวแต่งหญิงเขาจะรับไหมถ้าไม่ได้จะได้ไปตัดผมค่ะรบกวนช่วยหน่อยนะค่ะ

    ตอบลบ
  14. คือเป็นสาวประเภทสองค่ะอยากสมัคหารมันจะได้รึเปล่าร่างกายเป็นชายแค่ผมยาวแต่งหญิงเขาจะรับไหมถ้าไม่ได้จะได้ไปตัดผมค่ะรบกวนช่วยหน่อยนะค่ะ

    ตอบลบ
  15. ไม่ระบุชื่อ31 มกราคม 2565 เวลา 14:46

    Coin Casino (2021) Review | Is it Legit? | CAGAINED
    Coin Casino UK Review หารายได้เสริม ✓ All Casino Games ✓ Promotions & 제왕 카지노 Bonuses ✓ 24/7 Support 인카지노 ✓ 24/7 Support.

    ตอบลบ